วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู

เรื่อง  ผลไม้แสนสนุก
ของ   ครูไพพร   ถิ่นทิพย์

           ผลไม้แสนสนุก  เป็นการสอนกิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล   แต่ในวีดีโอนี้จะใช้วิธีพาเด็กไปศึกษาจากสถานที่จริง  ในที่นี้คือการไปศึกษาเรื่องผลไม้ที่ตลาด  โดยจะใช้การบูรณาการกิจกรรมต่างเข้าไปในกิจกรรมครั้งนี้  ในที่นี้จะบูรณาการกับวิทยาศาสตร์  ที่ให้เด็กได้คิด  ได้สังเกต  ได้ลองชิม  สัมผัสกับผลไม้ของจริง  ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

เรื่อง  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน    ของสุมาลี   หมวดไธสง  ปี 2554

ความมุ่งหมายของวิจัย
          1.  เพื่อศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวน   การทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
          2.  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

สมมุติฐานในการวิจัย
          เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย
     ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  เด็กปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ  สมุทรปราการ  จำนวน 180  คน
     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  เด็กปฐมวัยอายุ5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ  สมุทรปราการ  ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling ) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ( Sampling Unit )  โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน  จำนวน 30 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          1.  แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
          2.  แบบทดสอบการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการทดลอง
          ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  เป็นเวลา 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันล่ะประมาณ 40 นาที 24 ครั้ง

การวิเคราะห์ข้อมูล
          1.  หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาได้  ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          2.  เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองt-teat  แบบ Dependent Samples

สรุปผลการวิจัย
          1.  ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาสาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01
          2.  ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนที่มรค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01

Times17

วันจันทร์  ที่  23  กันยายน  2556

บันทึกการเรียน

วันนี้อาจารย์ได้ห้กลุ่มที่ทำแกงจืดออกมาสาธิตการสอนทำแกงจืด  โดยให้เพื่อนที่เหลือเป็นเด็กคอยตอบคำถามเวลาที่ครูสอนทำแกงจืด


                         

Times16

                วันจันทร์  ที่  16  กันยายน  2556 

บันทึกการเรียน

         วันนี้อาจารย์เบียร์  ได้มาสอนวิธีเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์  โดยให้แบ่งกลุ่มออกเป็น  6  กลุ่ม  แล้วให้ช่วยกันกันเขียนแม็บเกี่ยวกับอาหารเด็ก  หลังจากนั้นเลือกเมนูอาหารมาหนึ่งอย่าง  แล้วเขียนอุกรณ์ที่ใช้  วัตถุดิบที่ใช้  ประโยชน์   หลังจากนั้นก็เขียนขั้นตอนการทำอาหาร  หลังจากนี้อาจารย์ให้ช่วยกันเขียนแผน  โดยในแผนจะประกอบไปด้วย  วัตถุประสงค์   ประสบการณ์ที่ได้รับ  สาระที่ควรเรียนรู้  กิจกรรม  สื่อ  วัดผลและประเมินผล  บูรณาการ  เมื่อนักศึกษาแต่ละกลุ่มเขียนเสร็จ  ก็ได้ออกไปนำเสนอ  และร่วมกันเลือกว่าจะใช้เมนูไหนสาธิตสอนเด็ก  สรุปแล้วได้กลุ่ม " ทำแกงจืด "     


Times15

วันอาทิตย์  ที่  15  กันยายน  2556  ( เรียนชดเชย )

บันทึกการเรียน

องค์ความรู้ที่ได้
          วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อเข้ามุมต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว  ซึ่งสื่อที่มานำเสนอในวันนี้เช่น  ภาพสองมิติ   รถลงหลุม  การเจริญเติบโตของสัตว์   ลิงห้อยโหน  ความสัมพันธ์ของสัตว์  นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก   กล่องสีน่าค้นหา   เวทีซูโม่กระดาษ    เป็นต้น  ซึ่งสื่อเข้ามุมเหล่านี้เราสามารถในไปวางไว้ในมุมวิทยาศาสตร์  ให้เด็กได้เล่นเอง  ได้เรียนรู้จากการเล่น  แต่ที่สำคัญสื่อที่เราจัดเข้ามุมจ้องแข็งแรง  ทนทานด้วย

 




วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

Times14

วันจันทร์  ที่  9  กันยายน  2556

บันทึกการเรียนการสอน

งานที่ได้รับมอบหมาย  :   ให้นักศึกษาทำบล็อกและสื่อวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ชิ้นให้เสร็จเรียบร้อย  พร้อมส่ง  และนัดมาเรียนชดเชยในวันอาทิตย์  ที่ 15 กันยายน 2556 

Times13

วันจันทร์  ที่ 2  กันยายน  2556

บันทึกการเรียนการสอน

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ  สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์  ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ทำเรื่อง

สื่อเข้ามุม "กระดาษเปลี่ยนสี "




อุปกรณ์  :  กระดาษแข็ง   กระดาษแก้ว3สี   กาว   กรรไกร  เชือก

วิธีทำ      :  1.  นำกระดาษแข็งมาตัดวัดขนาดแล้วตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  แล้วตัดช่องตรงกลางออก
                        ให้เป็นเหมือนกรอบรูป 

                   2.  ติดกระดาษแก้วลงไปในกรอบ  ( ทำอย่างนี้เหมือนกันทั้ง 3 สี ) 

                   3.  นำมาตกแต่งให้สวยงาม


วิธีเล่น    :  1.  นำกระดาษแก้วสีแรกมาวางซ้อนกับสีที่สอง
                 
                  2.  นำกระดาษแก้วยกขึ้นแล้วมองผ่านกระดาษแก้ว  ก็จะเห็นว่ามีอีกสีเกิดขึ้นมา


หลักการ  :  เกิดจากการหักเหของแสงที่ผ่านแม่สีทั้ง 3 สี  ที่อยู่ในรูปของแสงรังสี  จึงทำให้เราสามารถ
                    มองเห็นสีอีกสีเกิดขึ้น

Times12

วันจันทร์  ที่  26  สิงหาคม  2556

บันทึกการเรียนการสอน

งานที่ได้รับมอบหมาย  :  ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปประดิษฐ์สื่อเข้ามุมให้เสร็จเรียบร้อย  และเตรียมนำ
                                            เสนอในอาทิตย์หน้า

Times11

วันจันทร์  ที่ 19  สิงหาคม  2556

บันทึกการเรียนการสอน

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการทดลอง  ซึ่งกลุ่มของดิฉันนำเสนอเรื่อง

การทดลอง  นักประดิษฐ์สีรุ้ง


อุปกรณ์   :  ลวด  น้ำยาเคลือบเล็บ  อ่างน้ำ

ขั้นตอนการทดลอง   :  1.  ดัดลวดให้เป็นรูปทรงตามต้องการ และทำที่จับให้ถือถนัดมือ


                                        2.  หาอ่างขนาดพอสมควรใส่น้ำสะอาด


                                        3.  หยดน้ำยาเคลือบเล็บลงไปบนผิวน้ำ 1 หยด
  
                                        4.  ใช้ลวดที่ดัดแล้ว  ตักฟิล์มขึ้นมาจากผิวน้ำ  ฟิล์มจะติดอยู่กับลวด  เวลาตัก
                                             ให้ค่อยๆ  ตักช้าๆ  เพราะฟิล์มบางและขาดง่ายมาก


                                        5.  ถ้าตักแล้วขาดให้ดึงฟิล์มทิ้งไป  แล้วทำความสะอาดผิวน้ำแล้วเริ่มต้นใหม่

                                        6.  เมื่อช้อนฟิล์มได้แล้ว  ให้งอด้ามจับตรงปลาย  แล้วแขวนห้อยไว้กับเชือก 
                                             เพื่อให้แห้ง แล้วนำมามอง


หลักการ   :  สีรุ้งเกิดจากการแทรกสอดแบบเสริม  และการแทรกสอดแบบหักล้าง  ของแสงสะท้อนจาก
                     ผิวด้านบนของน้ำมันกับแสงที่สะท้อนจากผิวด้านล่างของน้ำมัน  เนื่องจากฟิล์มของน้ำมัน
                     มีความหนาไม่เท่ากัน  ผลการสะท้อนจึงต่างกันด้วย  ส่งผลให้สีที่ได้จากการแทรกสอด
                     ต่างกัน  การที่ฟิล์มจะให้สีรุ้งสวยงามออกมาได้นั้น  แสดงว่าฟิล์มนั้นๆมีความหนาใกล้
                     เคียงกับความยาวคลื่อนของแสง  ปราฏการณ์เช่นนี้เรีกว่า " การแทรกสอดในฟิล์ม "


วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Times10

วันเสาร์  ที่  18  สิงหาคม  2556  ( เรียนชดเชย )

บันทึกการเรียนการสอน


องค์ความรู้ที่ได้รับ

  -  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมานำเสนอสื่อของเล่นที่แต่ละคนได้ผลิตกันมา  โดยดิฉันได้ผลิตสื่อของเล่นคือ

สื่อของเล่น "ป๋องแป๋ง"


อุปกรณ์  :  ไม้ตะเกียบ  ,  กาว  ,  กรรไกร  ,  กระดาษแข็ง  ,  กระดาษสี  ,  เชือก  ,  ลูกปัด  ,  ปากกาเมจิ

วิธีทำ      :  1. นำกระดาษแข็งมาตัดให้มีความกว้าง 2.5-3 ซม. แล้วนำมาดัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม
                   2. นำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีขนาดเท่ากับขอบด้านข้าง 2 แผ่น  แล้วนำไปติดที่
                       ขอบสี่เหลี่ยมทั้ง 2 ด้าน 
                   3. นำตะเกียบมาเสียบรูทั้ง 2 ด้านให้ปลายไม้โผ่มานิดนึง
                   4. เจาะรูด้านข้าง 2 รูแล้วนำเชือกผูกกับลูกปัดและอีกด้านหนึ่งผูกกับไม้กลัดแล้วนำใส่เข้า
                       ไปในรู  ทำอย่างนี้ทั้งสองด้าน  และตกแต่งให้สวยงาม

วิธีเล่น     :  1. ใช้มือจับด้ามไม้
                   2. บิดข้อมือไปมาก็จะทำให้เกิดเสียง

หลักการ :  จะเกี่ยวข้องกับเรื่องเสียง  ที่เกิกจากการแกว่งเชือกที่มีลูกปัด  และลูกปัดไปตกกระทบกับ
                   กระดาษ  ทำให้กระดาษสั่นสะท้อนจนเกิดเสียงขึ้นมา
 

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Times9

วันจันทร์  ที่  12  สิงหาคม  2556

บันทึกการเรียนการสอน

    ไม่มีการเรียนการสอน
*  เนื่องจากเป็นวันแม่แห่งชาติ


Times8

วันจันทร์  ที่  5  สิงหาคม  2556

บันทึกการเรียนการสอน

   ไม่มีการเรียนการสอน
*  เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค    

Times7

วันจันทร์  ที่  29  กรกฎาคม  2556

บันทึกการเรียนการสอน

          วันนี้อาจารย์ให้ทุกคนกลับไปอ่านหนังสือ  เพื่อเตรียมตัวสอบกลางภาคในวันพรุ่งนี้  และให้เตรียมหาสื่อของเล่น  พร้อมทั้งผลิตให้เรียบร้อย  และเตรียมนำมาเสนอ  และให้มาเรียนชดเชยในวันเสาร์ที่  18  สิงหาคม  2556  แทน





Times6

วันจันทร์  ที่  22  กรกฎาคม  2556

บันทึกการเรียนการสอน

    ไม่มีการเรียนการสอน
 * เนื่องจากเป็นวันอาสาฬหบูชา



วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Times5

วันจันทร์  ที่  15  กรกฎาคม  2556

บันทึกการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

          -  ให้นำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว
          -  ให้ดูคลิป "isci  ฉลาดแบบยกกำลังสอง  :  ลูกโป่งรับน้ำหนัก"  สาเหตุที่ลูกโป่งรับน้ำหนักได้ทีละ
              มากก็เพราะ  ลูกโป่งมีการกระจายน้ำหนักไปยังส่วนต่างๆภายในลูกโป่ง  จึงทำให้ลูกโป่งที่รับ
              น้ำหนักมากๆไม่แตก
  

ลูกโป่งรับน้ำหนักทีละมากได้โดยไม่แตก
          -  ดูคลิป  "เมล็ดจะงอกไหม"  ซึ่งน้ำและอากาศเป็นปัจจัยของการเจริญเติบโตของเมล็ดพืช  ถ้า
              หากเมล็ดพืชไม่ได้รับน้ำและอากาศก็ไม่สามารถงอกออกมาเป็นต้นไม้ดอกไม้ได้

Times4

วันจันทร์  ที่ 8  กรกฎาคม  2556

บันทึกการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้

        -  วันนี้อาจารย์ให้วาดรูปเกี่ยวกับอะไรก็ได้ลงในการดาษA4ที่แบ่งเป็น8ช่องเล็กตามจินตนาการ 
            โดยค่อยๆเติมส่วยประกอบลงไปที่ละนิด  แล้วลองเปิดไวๆดูแล้วจะได้ภาพเคลื่อนไหว
               

ภาพการเปลี่ยนแปลงของต้นไม้

          -  ดูVDO  เรื่องอากาศมหัศจรรย์  ซึ่งอากาศมีอยู่รอบๆตัวเรา  สัตว์  พืช  แล้วเราต้องใช้อากาศ
              เหล่านี้หายใจเพื่อดำรงชีวิต
          -  ให้นักศึกษาออกมานำเสนอเกี่ยวกับสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
              

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Times3

วันจันทร์  ที่  1  กรกฎาคม  2556

บันทึกการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้

           - อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ออกมาเป็น   Maid  Maping 
    ของกลุ่ม 101  ดังนี้





             -  อาจาร์ให้ดู VDO เรื่องแสง  ซึ่งแสงเป็นพลังงานคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่ไว  ที่ช่วยให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ  และแสงเดินทางเป็นเส้นตรงและสะท้อนกลับมายังที่เดิม 

งานที่ได้รับมอบหมาย

                ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  พร้อมทั้งบอกคุณสมบัติของสื่อที่ประดิษฐ์ด้วย
                 

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Times2

วันจันทร์ ที่ 24 มิถุนายน  2556

บันทึกการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้

         1. ความหมายของวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   
                            การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจ  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของ
              เด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ที
              ละอย่าง 
           2.  ความสำคัญ
                            ได้พัฒนาวิธีการคิด  มีทักษะในการค้นคว้า  สามารถแก้ปัญหาอย่างมีระบบและ
             สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย
          3.  แนวคิดพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ของเกรก
                            การเปลี่ยนแปลง  ทุกอย่างบนโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
                            ความแตกต่าง ให้เด็กเข้าใจความตกจ่าง
                                 
                            การปรับตัว ปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
                                        
                            การพึ่งพาอาศัยกัน 

                            ความสมดุล  ปรับตัวให้สมดุลและกลมกลืน

4.  วิธีการทางวิทยาศาสตร์

                 
                  1. กำหนดขอบเขต
                  2.  ตั้งสมมุติฐาน
                  3.  ลงมือกระทำ
                  4.  วิเคราะห์ข้อมูล
                  5.  สรุป/นำไปใช้

5.  พัฒนาการทางสติปัญญา
                   ในด้านของความสามารถในการคิดของแต่ละบุคคล  ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากการ
    ปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

6. อุปสรรค์ของการเรียนรู้
                   หากไม่เรียนรู้  ใยประสาทและจุดเชื่อมโยมจะหายไป
                   หากเรียนรู้ผิด  ก็จะมีผลกับใยประสาทของการเรียนรู้
                           

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Times1

วันจันทร์  ที่ 17  มิถุนายน  2556

บันทึกการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้

         -  วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้
         -  วิทยาศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านสติปัญญา  ซึ่งก็จะมีทฤษฎีของเพียเจและ
            บลูเนอร์
         -  เด็กปฐมวัยจะเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก  ซึ่งมีทั้งการเปลี่ยนแปลงที่บ่งบอกว่าเด็กทำอะไร
            ได้บ้าง  ที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนในช่วงอายุ  ที่สามารถนำมาเป็นเกณฑ์ในการประเมิน
            พัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือ  ด้านร่างกาย  สังคม  อารมณ์-จิตใจ  สติปัญญา

ประยุคใช้อย่างไร

          ใช้ในการสอนโดยนำเทคนิคต่างๆและพัฒนาการของเด็กมาเปรียบเทียบแล้วนำมาจัด
        ประสบการณ์ให้กับเด็ก