วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู

เรื่อง  ผลไม้แสนสนุก
ของ   ครูไพพร   ถิ่นทิพย์

           ผลไม้แสนสนุก  เป็นการสอนกิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล   แต่ในวีดีโอนี้จะใช้วิธีพาเด็กไปศึกษาจากสถานที่จริง  ในที่นี้คือการไปศึกษาเรื่องผลไม้ที่ตลาด  โดยจะใช้การบูรณาการกิจกรรมต่างเข้าไปในกิจกรรมครั้งนี้  ในที่นี้จะบูรณาการกับวิทยาศาสตร์  ที่ให้เด็กได้คิด  ได้สังเกต  ได้ลองชิม  สัมผัสกับผลไม้ของจริง  ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

เรื่อง  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน    ของสุมาลี   หมวดไธสง  ปี 2554

ความมุ่งหมายของวิจัย
          1.  เพื่อศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวน   การทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
          2.  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

สมมุติฐานในการวิจัย
          เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย
     ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  เด็กปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ  สมุทรปราการ  จำนวน 180  คน
     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  เด็กปฐมวัยอายุ5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ  สมุทรปราการ  ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling ) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ( Sampling Unit )  โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน  จำนวน 30 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          1.  แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
          2.  แบบทดสอบการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการทดลอง
          ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  เป็นเวลา 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันล่ะประมาณ 40 นาที 24 ครั้ง

การวิเคราะห์ข้อมูล
          1.  หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาได้  ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          2.  เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองt-teat  แบบ Dependent Samples

สรุปผลการวิจัย
          1.  ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาสาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01
          2.  ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนที่มรค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01

Times17

วันจันทร์  ที่  23  กันยายน  2556

บันทึกการเรียน

วันนี้อาจารย์ได้ห้กลุ่มที่ทำแกงจืดออกมาสาธิตการสอนทำแกงจืด  โดยให้เพื่อนที่เหลือเป็นเด็กคอยตอบคำถามเวลาที่ครูสอนทำแกงจืด


                         

Times16

                วันจันทร์  ที่  16  กันยายน  2556 

บันทึกการเรียน

         วันนี้อาจารย์เบียร์  ได้มาสอนวิธีเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์  โดยให้แบ่งกลุ่มออกเป็น  6  กลุ่ม  แล้วให้ช่วยกันกันเขียนแม็บเกี่ยวกับอาหารเด็ก  หลังจากนั้นเลือกเมนูอาหารมาหนึ่งอย่าง  แล้วเขียนอุกรณ์ที่ใช้  วัตถุดิบที่ใช้  ประโยชน์   หลังจากนั้นก็เขียนขั้นตอนการทำอาหาร  หลังจากนี้อาจารย์ให้ช่วยกันเขียนแผน  โดยในแผนจะประกอบไปด้วย  วัตถุประสงค์   ประสบการณ์ที่ได้รับ  สาระที่ควรเรียนรู้  กิจกรรม  สื่อ  วัดผลและประเมินผล  บูรณาการ  เมื่อนักศึกษาแต่ละกลุ่มเขียนเสร็จ  ก็ได้ออกไปนำเสนอ  และร่วมกันเลือกว่าจะใช้เมนูไหนสาธิตสอนเด็ก  สรุปแล้วได้กลุ่ม " ทำแกงจืด "     


Times15

วันอาทิตย์  ที่  15  กันยายน  2556  ( เรียนชดเชย )

บันทึกการเรียน

องค์ความรู้ที่ได้
          วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อเข้ามุมต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว  ซึ่งสื่อที่มานำเสนอในวันนี้เช่น  ภาพสองมิติ   รถลงหลุม  การเจริญเติบโตของสัตว์   ลิงห้อยโหน  ความสัมพันธ์ของสัตว์  นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก   กล่องสีน่าค้นหา   เวทีซูโม่กระดาษ    เป็นต้น  ซึ่งสื่อเข้ามุมเหล่านี้เราสามารถในไปวางไว้ในมุมวิทยาศาสตร์  ให้เด็กได้เล่นเอง  ได้เรียนรู้จากการเล่น  แต่ที่สำคัญสื่อที่เราจัดเข้ามุมจ้องแข็งแรง  ทนทานด้วย

 




วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

Times14

วันจันทร์  ที่  9  กันยายน  2556

บันทึกการเรียนการสอน

งานที่ได้รับมอบหมาย  :   ให้นักศึกษาทำบล็อกและสื่อวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ชิ้นให้เสร็จเรียบร้อย  พร้อมส่ง  และนัดมาเรียนชดเชยในวันอาทิตย์  ที่ 15 กันยายน 2556 

Times13

วันจันทร์  ที่ 2  กันยายน  2556

บันทึกการเรียนการสอน

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ  สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์  ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ทำเรื่อง

สื่อเข้ามุม "กระดาษเปลี่ยนสี "




อุปกรณ์  :  กระดาษแข็ง   กระดาษแก้ว3สี   กาว   กรรไกร  เชือก

วิธีทำ      :  1.  นำกระดาษแข็งมาตัดวัดขนาดแล้วตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  แล้วตัดช่องตรงกลางออก
                        ให้เป็นเหมือนกรอบรูป 

                   2.  ติดกระดาษแก้วลงไปในกรอบ  ( ทำอย่างนี้เหมือนกันทั้ง 3 สี ) 

                   3.  นำมาตกแต่งให้สวยงาม


วิธีเล่น    :  1.  นำกระดาษแก้วสีแรกมาวางซ้อนกับสีที่สอง
                 
                  2.  นำกระดาษแก้วยกขึ้นแล้วมองผ่านกระดาษแก้ว  ก็จะเห็นว่ามีอีกสีเกิดขึ้นมา


หลักการ  :  เกิดจากการหักเหของแสงที่ผ่านแม่สีทั้ง 3 สี  ที่อยู่ในรูปของแสงรังสี  จึงทำให้เราสามารถ
                    มองเห็นสีอีกสีเกิดขึ้น